พอดีพี่มิ้งค์ คอมทูเดย์ เพิ่งได้รับผลการสำรวจจาก MSN ก็เลยขอนำมาแบ่งปันให้กับน้องๆ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เน็ตของคนไทย ไม่น่าเชื่อว่า…. งง ละซิว่าอะไรต้องตามมาาดูกันครับ ผลสำรวจครั้งล่าสุดของวินโดวส์ไลฟ์ที่มีคนไทยเข้าร่วมกว่า 7,000 คน ระบุว่าพฤติกรรมออนไลน์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทยบางคนมีความเสี่ยงและอาจก่อให้เกิดปัญหาที่น่าเป็นห่วงในประเด็นดังกล่าว

ถึงแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตที่ดี ทั้งในด้านการป้องกันตนเองและในการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยต่อผู้ใช้คนอื่นๆ แต่ก็ยังพบผู้ร่วมการสำรวจจำนวนมากที่ยอมรับว่ามีการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยทั่วไปอีกทั้งยังละเลยมาตรการด้านความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีกรณีแอบอ้างใช้ชื่อผู้อื่นเข้าไปออนไลน์

ผู้เข้าร่วมการสำรวจในประเทศไทยกว่าร้อยละ 90 ยอมรับว่าเคยปลอมแปลงเป็นบุคคลอื่นในขณะออนไลน์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากที่ไม่คิดว่าการหลอกหลวงเรื่องที่ผิด จากผลสำรวจพบว่าส่วนมากแสร้งเป็นบุคคลอื่นเพื่อสามารถเข้าร่วมเล่นเกมส์ชิงรางวัลออนไลน์ได้หลายครั้งมากขึ้น
แฉ!!! คนไทย 90% เคยล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น Image001_thumb1
แฉ!!! คนไทย 90% เคยล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น Image002_thumb1

รักษามารยาทการอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้อง

เมื่อพิจารณากันถึงมารยาทที่ดีในการใช้อินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ไม่เพียงแต่ควรรักษาความประพฤติในการใช้งานที่ดีเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญก็คือการรู้จักป้องกันตัวเองจากภัยทางอินเตอร์เน็ตด้วย มีหลากหลายวิธีการที่จะสามารถปกป้องตนเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ฟังก์ชั่นสำหรับป้องกันพาสเวิร์ด (Password Protection) เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนตัวจะถูกเก็บรักษาไว้ให้อย่างปลอดภัย อีกทั้งการรู้จักระมัดระวังไม่ให้ตนเองถูกหลอกลวงจากภัยทางอินเตอร์เน็ต เหมือนการระมัดระวังภัยในการใช้ชีวิตปกติ

ระมัดระวังในการใช้พาสเวิร์ด

ผลสำรวจพบว่าชาวไทย 69 เปอร์เซ็นต์ ตระหนักถึงกฎทองของการเข้าสู่บัญชีอีเมล์ออนไลน์ – คือการไม่บอกพาสเวิร์ดส่วนตัวแก่ผู้อื่นโดยเด็ดขาด – อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ที่ไม่กระทำตามข้อพึงปฏิบัติดังกล่าว โดยเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทยยอมรับว่าเคยบอกพาสเวิร์ดส่วนตัวกับผู้อื่น ซึ่งรวมถึง พ่อแม่ สามีภรรยา คนรัก ลูกๆ หรือแม้กระทั่งเพื่อนสนิท ประเด็นที่มีความน่าเป็นห่วงยิ่งไปกว่านั้นคือวิธีการที่ผู้ร่วมสำรวจคนไทยจดจำพาสเวิร์ดของตน เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าตั้งพาสเวิร์ดเป็นชื่อหรือวันเกิดของตัวเอง 7.5 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าพาสเวิร์ดของพวกเขาคือคำว่า “Password” และอีก 7 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าได้เขียนพาสเวิร์ดของตัวเองลงบนกระดาษและแปะไว้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์

ไม่มีความลับบนโลกอินเตอร์เน็ต!

เป็นที่ชัดเจนว่าการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ social network ได้รับความนิยมอย่างสูง เกือบทุกคนเล่นอินเตอร์เน็ตจะเป็นสมาชิก social network เว็บใดเว็บหนึ่ง เราสามารถค้นหาข้อมูลของใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ธุรกิจ ไปจนถึงองค์กรต่างๆ อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ใช้จะเข้าไปดูโปรไฟล์ของเพื่อนๆ และเข้าไปมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพวกเขานั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ว่าใครกำลัง “แอบตาม” เพื่อนของคุณทางออนไลน์และดูข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาอยู่ แล้วผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทยจะมีวิธีการป้องกันตนเองทางอินเตอร์เน็ตอย่างไร? ประมาณ 67 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมการสำรวจระบุว่าพวกเขาไม่เคยใส่ข้อมูลส่วนตัวออนไลน์ให้ทุกคนเห็น และคำตอบของคำถามที่ว่าอะไรคือข้อมูลที่อยู่ในข่ายเป็นข้อมูลส่วนตัวมากๆ 54 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า ที่อยู่และเบอร์มือถือไม่ควรเป็นข้อมูลที่ให้บนอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ 7 เปอร์เซ็นต์ เห็นพ้องกันว่าอายุของพวกเขาควรจะเป็นข้อมูลที่ถือเป็นเรื่องส่วนตัว

เทรนด์ขยายเน็ตเวิร์ครายชื่อเพื่อน

เช่นเดียวกับในโลกออฟไลน์ของเรา การเลือกคบใครเป็นเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องควรพึงระวังเป็นอย่างยิ่ง “การหาเพื่อนออนไลน์เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายผ่านการใช้ social network ด้วยการใช้โปรแกรมวินโดวส์ไลฟ์ ผู้ใช้งานจะได้รับอัพเดทจากเพื่อนๆ บนเน็ตเวิร์คต่างๆ มากมาย รวมถึง Facebook และ Twitter โดยเราพบว่ามีผู้คนมากมายที่มีเพื่อนบนอินเตอร์เน็ตมากกว่าเพื่อนในชีวิตจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ทุกคนจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังว่าจะเพิ่มชื่อใครเพื่อเป็นเพื่อนออนไลน์” ลอว์ สมิธ กล่าวเพิ่มเติม

มีผู้คนมากมายที่พัฒนาความเป็นเพื่อนกับคนอื่นที่เป็นเพื่อนของตนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมการสำรวจยอมรับว่าขยายเครือข่าย social network ของตนด้วยการเพิ่มชื่อเพื่อนของเพื่อนถึงแม้ว่าจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนก็ตาม มีข้อมูลน่าสนใจโดย 47 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมสำรวจยอมรับว่ามีการเพิ่มชื่อคนอื่นๆ เข้าไปในเน็ตเวิร์คของตนเองเพื่อที่จะขยาย Friend List ให้มีชื่อเพื่อนมากขึ้น

ควรจะทำอย่างไรเมื่อได้รับการเชื้อเชิญให้เป็นเพื่อนจากคนที่ไม่รู้จัก? ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ของ ผู้ร่วมสำรวจกล่าวว่าจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือโดยวัดจากการที่มีเพื่อนคนเดียวกันหรือไม่ ประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าจะดูหน้าตาก่อนว่าเหมือนฆาตกรโรคจิตหรือเปล่า เกือบ 15 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาจะปฏิเสธการเชื้อเชิญทั้งหมด ในขณะที่ 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นจำนวนที่น่าเป็นห่วง กล่าวว่าพวกเขามักจะยอมรับเป็นเพื่อนกับคนที่ส่งคำเชิญมาทั้งหมดโดยไม่สนใจว่าเป็นใครหรือหน้าตาเป็นอย่างไร

สุดท้าย จากการสำรวจยังพบว่าประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมสำรวจชาวไทยยอมรับว่าเคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในขณะที่ผู้ร่วมการสำรวจจำนวนเท่าๆ กันกล่าวว่าพวกเขาไม่เคยหลงเชื่อกลลวงต่างๆ ที่มากับอินเตอร์เน็ต ในกลุ่มที่น่ากังวลคือ 38 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าตนไม่ทราบเลยว่าเคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์มาก่อนหรือไม่


Credit www.comtodaymag.com